ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เอดส์ และ HIV รักษาได้ไหม

 


HIV (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอีกมากมายตามมาไม่ว่าจะเป็นโรควัณโรคปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคทางสมอง ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HIV ร่างกายมักจะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ภายใน 1-2 เดือน โดยจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • มีไข้ หนาวสั่น

  • อาการไอเรื้อรัง

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

  • ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ

  • คลื่นไส้อาเจียน

  • ผิวหนังเป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ หรือมีรอยฟกช้ำเป็นจุด

  • ต่อมน้ำเหลืองบวม

  • น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง

  • เหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน


อาการ HIV และโรคเอดส์รักษาได้ไหม?

ในปัจจุบัน ยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาใด ที่ช่วยทำให้หายขาดจากการติดเชื้อ HIV หรือการป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ 100% ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันของทั้งผู้ป่วย HIV และโรคเอดส์ มีเป้าหมายเดียวกัน คือการฟื้นฟูภูมิคุ้มกันร่างกายที่บกพร่องของผู้ป่วย ให้กลับมาแข็งแรงเป็นปกติได้มากที่สุด โดย การใช้ยาต้านไวรัสที่ทำให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงได้ใกล้เคียงกับคนปกติ แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาต้านไวรัสและปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวันไปตลอดชีวิต


แต่สำหรับผู้ที่ ได้รับเชื้อ HIV ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน เช่นผู้ที่เพิ่งรู้ว่ามีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ป่วย HIV ถุงยางอนามัยแตก สามารถใช้ยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อได้ประมาณร้อยละ 70 – 80 โดยจะต้องกินยาให้ครบ 28 วัน หากไม่ครบประสิทธิภาพการป้องกันจะลดลง ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV แต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น ไม่ใส่ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์ มีคู่นอนหลายคน ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น หากต้องการป้องกันการติดเชื้อ สามารถใช้ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อประมาณร้อยละ 90 โดยแพทย์จะให้กินยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด อย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการตรวจหาการติดเชื้อ HIV และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา โดยแพทย์จะนัดทุก 3 เดือน หากแพทย์เห็นว่าไม่มีความเสี่ยงแล้ว ก็จะสั่งให้หยุดการใช้ยา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี ?

การตรวจเอชไอวี ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย ใครก็สามารถตรวจได้ คนไทยสามารถรับสิทธิการตรวจเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง จากโรงพยาบาลรัฐที่มีสิทธิประกันสุขภาพ หรือโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิประกันสังคม จึงทำให้การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทำให้กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจได้อย่างรวดเร็ว เอชไอวี คืออะไร ? เอชไอวี  (Human Immunodeficiency Virus : HIV) คือ เชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจนเกิดความบกพร่อง โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 ส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage)  ระยะโรคเอดส์ (AIDS) ข้อดีของการตรวจเอชไอวี ตรวจเพื่อป้องกันตัวเอง ตรวจเพื่อวางแผนการมีครอบครัว ตรวจเพื่อลดความกังวลและความเครียด ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อ ก็จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษารวดเร็วและทันท่วงที ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอน ป้องกันไม่ให้ไปสู่การติดเชื้อฉวยโอกาส เอชไอวี ใครบ้างที่ควรตรวจ ? การตรวจเอชไอว

ถุงยางอนามัย เลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับเรา

ทุกคนคงทราบกันดีว่า ถุงยางอนามัย   ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้กว่า 90% และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดีอีกด้วย แต่เป็นเฉพาะกับคนที่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องด้วยนะ เพราะยังมีอีกหลายต่อหลายคน ที่ยังเลือกซื้อถุงยางอนามัยยังไม่เป็น และยังสวมถุงยางอนามัยด้วยวิธีที่ผิด จึงคงทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และการติดโรคอย่าง เชื้อเอชไอวี ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยไม่เหมาะสมกับตัวเองนี่แหละ วันนี้ เรามีวิธีเลือกซื้อถุงยางอนามัยให้เหมาะกับตัวเอง ฉบับมือใหม่หรือแม้แต่ผู้ที่เคยใช้ถุงยางอนามัยมาหลายครั้งแล้วได้ทบทวนว่าที่ตัวเองรู้อยู่นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ทำความรู้จักถุงยางอนามัยกันก่อน! ถุงยางอนามัย หรือ Condom เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นิยมใช้มากที่สุดในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป โดยตัวถุงยางอนามัย ที่มีจำหน่ายในร้านค้าปัจจุบันมักทำมาจากยางสังเคราะห์ และยางธรรมชาติ แบ่งขนาดออกเป็นหลายไซส์ แต่ที่มีจำหน่ายในไทยจะมีอยู่ 4 ขนาดหลักๆ ได้แก่ ถุงยางอนามัย ขนาด 49 มีขนาดความกว้าง โดยวัดจากก