ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เสี่ยง HIV นึกถึงยาเป๊ป (PEP)

ถ้าจะพูดถึง ยาเป๊ป (PEP) คุณอาจเคยได้ยินการใช้ยานี้ ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง หรืออาจเคยอ่านผ่านหูผ่านตามาจากสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่ได้มีการรณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันไวรัสเอชไอวี เนื่องจากปัจจุบันการนัดพบปะกันสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยีสมาร์ทโฟน หรือเก็ตเจ็ตต่างๆ ที่เอื้ออำนวยในการพูดคุยสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกใจใครหรือชอบใครอยู่ ก็สามารถชวนกันไปมีกิจกรรมได้ทันที และนั่นนำมาซึ่งความเสี่ยง ถ้าคุณเกิดเผลอตัวเผลอใจมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน

เสี่ยง HIV นึกถึงยาเป๊ป (PEP)

ยาเป๊ป (PEP) ทำหน้าที่อะไร

เป๊ป คือ ยาต้านไวรัสเอชไอวีหลังมีความเสี่ยง หรือมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว และเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มั่นใจว่าคุณอาจได้รับเชื้อมาในร่างกาย ส่วนใหญ่จะเรียกยานี้ว่า “ยาต้านฉุกเฉิน” นั่นเอง ส่วนผสมของยาชนิดนี้ ประกอบไปด้วยตัวยาต้านไวรัสจำนวน 3 ชนิด รวมอยู่ในเม็ดเดียว หรือสองเม็ด ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ของแพทย์ซึ่งเมื่อทานจะเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสเอชไอวี ไม่ให้ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันและท้ายที่สุดเชื้อก็ตายลงไปไม่มีโอกาสได้เกิดโรค โดยยาเป๊ป จำเป็นต้องทานให้เร็วที่สุด ตั้งแต่หลังมีความเสี่ยงไปไม่เกิน 72 ชั่วโมง และจะต้องทานให้ครบจำนวน 28 วัน เพื่อให้ตัวยาทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับความเสี่ยงที่ควรทานยาเป๊ป ได้แก่

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย ไม่ได้ทานยาเพร็พ (PrEP)
  • สวมถุงยางอนามัย แต่เกิดการฉีกขาด แตก หรือหลุดรั่ว ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้สติ
  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อเอชไอวีและคนๆ นั้นไม่ได้ทานยาต้านไวรัสอยู่
  • มีการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาอันเดียวกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี
  • ถูกเข็มทิ่มตำในกรณีบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาล
  • มีเพศสัมพันธ์และฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีเลือดออก หรือมีแผลฉีกขาด

ยาเป๊ปกินตอนไหน

ควรทานยาเป๊ปทันที หลังจากที่ได้รับการตรวจเอชไอวีและยาจากแพทย์แล้ว หากจะให้ดีที่สุด คือ ไม่ควรทานเกิน 48 ชั่วโมง เพราะการทิ้งระยะเวลาไว้นาน​โอกาสในการรักษาไม่ได้ผลก็มีสูง แต่หากมีความเสี่ยงเกิน 48 ชั่วโมงแล้วก็ให้ยึดหลักที่ว่าต้องทานยาเป๊ปไม่เกิน 72 ชั่วโมงก็ยังสามารถรักษาได้ทันการณ์ ทั้งนี้ คุณควรให้ความสำคัญของการทานยาเป๊ปที่ตรงต่อเวลา และมีวินัยสูงสุด เพื่อไม่ให้ตัวเองขาดยา

รับยาเป๊ปได้ที่ไหน

ยาเป๊ปมีบริการในคลินิกเฉพาะทางหรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และมีค่าใช้จ่ายในการรับยาอยู่ที่ราว ๆ 1,200-2,000 บาท ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่คุณเดินทางไปติดต่อ และค่าบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนในการรับยา ดังนี้

  • แจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี
  • แพทย์เริ่มซักประวัติความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องทานยาเป๊ปหรือไม่
  • แพทย์จะทำการตรวจเอชไอวี ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ตรวจซิฟิลิส ตรวจการทำงานของตับและไต
  • หากผลตรวจออกมาปกติ แพทย์จะให้คำแนะนำและจ่ายยาเป๊ปให้คุณ นำกลับไปทานที่บ้านได้
  • เมื่อทานยาครบหมดแล้ว จะมีการนัดพบแพทย์อีกครั้งเพื่อทำการตรวจเอชไอวีซ้ำ
  • ในช่วงระหว่างทานยาเป๊ป ควรงดบริจาคโลหิต และสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การรับยาเป๊ป

ยาเป๊ปมีผลเสียกับร่างกายไหม

ยาต้านฉุกเฉินมีความปลอดภัย และปัจจุบันสูตรยายังมีผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อย หรือในบางรายอาจไม่มีผลอะไรเกิดขึ้นเลย เช่น อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย รู้สึกอ่อนเพลีย เป็นต้น แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองหลังจากสัปดาห์แรกที่เริ่มทานยา แต่ถ้าคุณมีอาการนอกเหนือจากนี้ ที่รุนแรงผิดปกติ ควรรีบกลับไปพบแพทย์โดยด่วน

ถึงแม้ว่า ยาเป๊ป จะมีประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันไวรัสเอชไอวี แต่การป้องกันอย่างสูงสุด ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรตระหนักถึงมากกว่าการแก้ปัญหาทีหลัง การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงจะช่วยลดโอกาสที่คุณจะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ลงได้ เช่น ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ใช้สารเสพติด ไม่ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ไม่ลืมสวมถุงยางอนามัย เป็นต้น การลดละเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้คุณไม่ต้องกังวลว่าจะมีความเสี่ยงใด และช่วยให้กิจกรรมทางเพศของคุณมีความปลอดภัยมากที่สุด

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี ?

การตรวจเอชไอวี ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย ใครก็สามารถตรวจได้ คนไทยสามารถรับสิทธิการตรวจเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง จากโรงพยาบาลรัฐที่มีสิทธิประกันสุขภาพ หรือโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิประกันสังคม จึงทำให้การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทำให้กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจได้อย่างรวดเร็ว เอชไอวี คืออะไร ? เอชไอวี  (Human Immunodeficiency Virus : HIV) คือ เชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจนเกิดความบกพร่อง โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 ส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage)  ระยะโรคเอดส์ (AIDS) ข้อดีของการตรวจเอชไอวี ตรวจเพื่อป้องกันตัวเอง ตรวจเพื่อวางแผนการมีครอบครัว ตรวจเพื่อลดความกังวลและความเครียด ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อ ก็จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษารวดเร็วและทันท่วงที ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอน ป้องกันไม่ให้ไปสู่การติดเชื้อฉวยโอกาส เอชไอวี ใครบ้างที่ควรตรวจ ? การตรวจเอชไอว

ถุงยางอนามัย เลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับเรา

ทุกคนคงทราบกันดีว่า ถุงยางอนามัย   ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้กว่า 90% และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดีอีกด้วย แต่เป็นเฉพาะกับคนที่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องด้วยนะ เพราะยังมีอีกหลายต่อหลายคน ที่ยังเลือกซื้อถุงยางอนามัยยังไม่เป็น และยังสวมถุงยางอนามัยด้วยวิธีที่ผิด จึงคงทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และการติดโรคอย่าง เชื้อเอชไอวี ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยไม่เหมาะสมกับตัวเองนี่แหละ วันนี้ เรามีวิธีเลือกซื้อถุงยางอนามัยให้เหมาะกับตัวเอง ฉบับมือใหม่หรือแม้แต่ผู้ที่เคยใช้ถุงยางอนามัยมาหลายครั้งแล้วได้ทบทวนว่าที่ตัวเองรู้อยู่นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ทำความรู้จักถุงยางอนามัยกันก่อน! ถุงยางอนามัย หรือ Condom เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นิยมใช้มากที่สุดในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป โดยตัวถุงยางอนามัย ที่มีจำหน่ายในร้านค้าปัจจุบันมักทำมาจากยางสังเคราะห์ และยางธรรมชาติ แบ่งขนาดออกเป็นหลายไซส์ แต่ที่มีจำหน่ายในไทยจะมีอยู่ 4 ขนาดหลักๆ ได้แก่ ถุงยางอนามัย ขนาด 49 มีขนาดความกว้าง โดยวัดจากก