ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ถุงยางอนามัย เลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับเรา

ทุกคนคงทราบกันดีว่า ถุงยางอนามัย  ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้กว่า 90% และยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดีอีกด้วย แต่เป็นเฉพาะกับคนที่ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องด้วยนะ เพราะยังมีอีกหลายต่อหลายคน ที่ยังเลือกซื้อถุงยางอนามัยยังไม่เป็น และยังสวมถุงยางอนามัยด้วยวิธีที่ผิด จึงคงทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ และการติดโรคอย่างเชื้อเอชไอวีด้วยการใช้ถุงยางอนามัยไม่เหมาะสมกับตัวเองนี่แหละ วันนี้ เรามีวิธีเลือกซื้อถุงยางอนามัยให้เหมาะกับตัวเอง ฉบับมือใหม่หรือแม้แต่ผู้ที่เคยใช้ถุงยางอนามัยมาหลายครั้งแล้วได้ทบทวนว่าที่ตัวเองรู้อยู่นั้นมีความถูกต้องหรือไม่

ถุงยางอนามัย เลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับเรา

ทำความรู้จักถุงยางอนามัยกันก่อน!

ถุงยางอนามัย หรือ Condom เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่นิยมใช้มากที่สุดในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากถุงยางอนามัยสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป โดยตัวถุงยางอนามัย ที่มีจำหน่ายในร้านค้าปัจจุบันมักทำมาจากยางสังเคราะห์ และยางธรรมชาติ แบ่งขนาดออกเป็นหลายไซส์ แต่ที่มีจำหน่ายในไทยจะมีอยู่ 4 ขนาดหลักๆ ได้แก่

  • ถุงยางอนามัย ขนาด 49 มีขนาดความกว้าง โดยวัดจากการวางถุงยางที่คลี่แล้ว แบนราบกับพื้น วัดความกว้างจากขอบหนึ่งถึงขอบหนึ่งได้ 49 มิลลิเมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 160 มิลลิเมตร
  • ถุงยางอนามัย ขนาด 52 มีขนาดความกว้าง โดยวัดจากการวางถุงยางที่คลี่แล้ว แบนราบกับพื้น วัดความกว้างจากขอบหนึ่งถึงขอบหนึ่งได้ 52 มิลลิเมตร และมีความยาวประมาณ 180 มิลลิเมตร
  • ถุงยางอนามัย ขนาด 54 มีขนาดความกว้าง โดยวัดจากการวางถุงยางที่คลี่แล้ว แบนราบกับพื้นวัดความกว้างจากขอบหนึ่งถึงขอบหนึ่งได้ 54 มิลลิเมตร และมีความยาวประมาณ 190 มิลลิเมตร
  • ถุงยางอนามัย ขนาด 56 มีขนาดความกว้าง โดยวัดจากการวางถุงยางที่คลี่แล้ว แบนราบกับพื้น วัดความกว้างจากขอบหนึ่งถึงขอบหนึ่งได้ 56 มิลลิเมตร และมีความยาวประมาณ 214 มิลลิเมตร

วิธีวัดขนาด ถุงยางอนามัย

เรามีความจำเป็นจะต้องเลือดขนาดของถุงยางอนามัย ให้พอดีกับขนาดของอวัยวะเพศของตัวเอง เพราะหากเลือกถุงยางอนามัยขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป จะทำให้ถุงยางอนามัยเกิดการฉีกขาด หรือหลุดออกได้ง่าย และจะทำให้ประสิทธิภาพของการป้องกันลดลง ซึ่งมีวิธีวัดขนาดได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. ใช้สายวัด วัดเส้นรอบวงของอวัยวะเพศ ขณะที่กำลังแข็งตัวเต็มที่ หรืออาจจะใช้เชือกพันไว้ 1 รอบ เมื่อนำเชือกมากางออก ก็จะเท่ากับเส้นรอบวง
  2. นำค่าที่วัดได้มาหาร 2 จะได้ขนาดของอวัยวะเพศพอดี ยกตัวอย่างเช่น วัดเส้นรอบวงได้ 10.6 เซนติเมตร นำมาหาร 2 จะได้ 5.3 เซนติเมตร เมื่อแปลงเป็นมิลลิเมตร ก็จะเท่ากับ 53 มิลลิเมตร ดังนั้นถุงยางอนามัยที่คุณจะสามารถใช้ได้ก็คือ ขนาด 52 หรือ 54 มิลลิเมตร

การเลือกซื้อถุงยางอนามัย

หลังจากทราบขนาดของอวัยวะเพศที่ถูกต้องแล้ว ถุงยางอนามัยที่มีจำหน่ายทั่วไป ยังแบ่งชนิดความบาง ความหนา ผิวสัมผัส รูปทรง แม้แต่กระทั่งกลิ่นและรสชาติให้คุณได้เลือก ที่ควรสังเกต คือ ฉลากบนกล่องบรรจุภัณฑ์ถุงยางอนามัยว่ามีเครื่องหมายสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. หรือไม่ รวมทั้งดูวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุด้วย นอกจากนี้ ก่อนหยิบไปชำระเงิน ควรตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุดเสียหาย เพื่อให้ทราบว่าถุงยางอนามัยยังมีคุณภาพ และพร้อมใช้งานอย่างแท้จริง

  • เลือกความบาง ที่ช่วยให้รู้สึกเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีถุงยางอนามัยบางสุดที่ 0.01-0.03 มิลลิเมตรกันเลยทีเดียว
  • เลือกผิวสัมผัส แบ่งเป็นแบบผิวเรียบ และแบบผิวไม่เรียบที่จะช่วยเพิ่มความรู้สึกให้คู่นอนระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • เลือกรสชาติและกลิ่น ถุงยางอนามัยมีรสชาติและกลิ่นที่หลากหลายให้เลือกใช้ เพื่อเพิ่มสีสันให้กิจกรรมทางเพศของคุณมากขึ้น

เลือกขนาดถุงยางอนามัยให้ถูกไซส์


รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง

  • ก่อนสวมถุงยางอนามัย ให้ฉีกซองอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เล็บหรือของมีคมเกี่ยวโดนถุงยางอนามัยเพราะอาจทำให้เกิดการฉีกขาดขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้
  • หยิบถุงยางอนามัยให้หันด้านที่มีกระเปราะไปด้านหน้า พร้อมกับให้รอยม้วนอยู่ด้านนอก ก่อนจะวางถุงยางอนามัยลงบนปลายอวัยวะเพศที่แข็งตัวเต็มที่แล้วค่อยๆ สวมถุงยางอนามัย
  • ใช้มืออีกข้างหนึ่งบีบปลายกระเปราะถุงยางอนามัย เพื่อไล่อากาศ ป้องกันการแตกรั่วระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ แล้วรูดถุงยางอนามัยเข้าหาตัวจนสุดโคนอวัยวะเพศ เช็คให้แน่ใจว่าครอบถึงโคนแล้วจริงๆ  เพื่อป้องกันการหลุดออกในระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ปกติถุงยางอนามัยจะมีสารหล่อลื่นที่ช่วยในการสอดใส่อยู่พอสมควร แต่หากรู้สึกฝืด ให้หยดเจอหล่อลื่นชนิดละลายในน้ำ บริเวณด้านนอกถุงยางอนามัย เพื่อช่วยให้กิจกรรมมีความราบรื่นขึ้น
  • หลังเสร็จกิจให้ดึงอวัยวะเพศออกทันที และถอดถุงยางอนามัยออกก่อนที่อวัยวะเพศจะอ่อนตัว
  • ใช้กระดาษทิชชู่พันโคนถุงยางอนามัยก่อนที่จะถอดออก เพื่อลดการสัมผัสเชื้อจากคู่นอนได้
  • ก่อนทิ้งควรห่อถุงยางอนามัยที่ใช้แล้วให้มิดชิด และทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด
  • หากต้องการมีเซ็กส์ต่อเนื่อง ควรเปลี่ยนถุงยางอนามัยชิ้นใหม่ ห้ามใช้ซ้ำโดยเด็ดขาด
  • ไม่ใส่ถุงยางอนามัยหลายชั้น เพราะจะทำให้เกิดการเสียดสี และฉีกขาดได้ง่าย
  • ห้ามใช้ถุงยางอนามัยสำหรับชาย หากผู้หญิงมีการใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้หญิงอยู่ก่อนแล้ว เพราะจะเพิ่มการเสียดสี ทำให้ถุงยางรั่วหรือแตกได้
  • ห้ามใช้โลชั่น หรือน้ำมันทาผิว มาทาที่ถุงยางอนามัยแทนเจลหล่อลื่นเด็ดขาด เพราะจะทำให้ถุงยางอนามัยแตก และรั่วซึมได้
  • ควรเก็บถุงยางอนามัยเอาไว้ในที่แห้งและเย็น หลีกเลี่ยงการเก็บในที่ที่มีความชื้นหรือความร้อนสูง ถูกแสงแดด หรือแม้แต่เก็บในกระเป๋าสตางค์ เพราะจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพได้ไว

เพศสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว และการป้องกันตัวเองก็เป็นหน้าที่ที่เราควรรับผิดชอบทั้งต่อตัวเราเองและคู่นอนของเราด้วย ถุงยางอนามัยจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการคุมกำเนิดสำหรับคนที่ยังไม่พร้อม และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การใช้ถุงยางอนามัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถป้องกันได้ดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยให้คุณมีกิจกรรมทางเพศที่ปลอดภัย และห่างไกลจากโรคได้ครับ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี ?

การตรวจเอชไอวี ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย ใครก็สามารถตรวจได้ คนไทยสามารถรับสิทธิการตรวจเอชไอวีฟรี ปีละ 2 ครั้ง จากโรงพยาบาลรัฐที่มีสิทธิประกันสุขภาพ หรือโรงพยาบาลที่คุณมีสิทธิประกันสังคม จึงทำให้การตรวจเอชไอวีเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทำให้กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจได้อย่างรวดเร็ว เอชไอวี คืออะไร ? เอชไอวี  (Human Immunodeficiency Virus : HIV) คือ เชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจนเกิดความบกพร่อง โดยที่เชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 ส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage)  ระยะโรคเอดส์ (AIDS) ข้อดีของการตรวจเอชไอวี ตรวจเพื่อป้องกันตัวเอง ตรวจเพื่อวางแผนการมีครอบครัว ตรวจเพื่อลดความกังวลและความเครียด ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อ ก็จะได้เข้าสู่กระบวนการรักษารวดเร็วและทันท่วงที ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอน ป้องกันไม่ให้ไปสู่การติดเชื้อฉวยโอกาส เอชไอวี ใครบ้างที่ควรตรวจ ? การตรวจเอชไอว