ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคหนองใน (Gonorrhoea)

โรคหนองใน (Gonorrhoea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoea โดยแบคทีเรียชนิดนี้ ทำให้เกิดการติดเชื้อ ที่ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก ลำคอ เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ และตา หากไม่ได้รักษาสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น เป็นหมัน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และตั้งครรภ์นอกมดลูก

สาเหตุของโรคหนองใน

โรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุท่อปัสสาวะในผู้ชาย และทางปากมดลูกและท่อปัสสาวะของผู้หญิง ระยะฟักตัว 1 – 14 วัน แต่ที่พบบ่อยคือ 3 – 5 วัน ส่วนมากติดต่อผ่านการเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอดหรือทางทวารหนัก

การวินิจฉัยโรคหนองใน

    การวินิจฉัยโรคหนองใน แพทย์จะนำหนอง หรือปัสสาวะ มาตรวจ PCR จากนั้นจะนำมาย้อมหาเชื้อ และนำไปเพาะเชื้อ เพื่อตรวจสอบ ทั้งนี้แพทย์จะนำการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ร่วมด้วย

    อาการของโรคหนองใน

      อาการโรคหนองในที่มักเกิดในผู้ชาย 
      • รู้สึกปวดแสบระหว่างปัสสาวะ
      • มีหนองไหล 
      • รู้สึกระคายเคืองท่อปัสสาวะ
      • อัณฑะบวม หรือมีการอักเสบ
      อาการโรคหนองในที่มักเกิดในผู้หญิง
      • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น 
      • เป็นหนองหรือมูกปนหนอง 
      • รู้สึกปวดแสบระหว่างปัสสาวะ
      • ปวดท้องน้อย

      โรคหนองในติดต่อกันได้อย่างไร ?

      โรคหนองใน ติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ผ่านการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาติ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อจากมารดาไปสู่ทารกในระหว่างคลอด และผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู่อื่น

      กิจกรรมเหล่านี้ไม่ทำให้ติดโรคหนองใน ?

      • การจูบ
      • การกอด
      • การจับมือ
      • การใช้ห้องน้ำร่วมกัน
      • การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
      • การใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน
      • การใช้แก้วน้ำ จาน ชามร่วมกัน
      **เชื้อโรคชนิดนี้ เมื่อออกจากร่างกายแล้วจะตายค่อนข้างง่าย ดังนั้นโอกาสที่จะติดต่อกันทางอื่น นอกจากทางเพศสัมพันธ์เป็นไปได้ยาก**

      โรคหนองในป้องกันได้อย่างไร ?

      การป้องกันโรคหนองใน สามารถทำได้ง่ายๆโดยการ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันตัวเอง ทั้งนี้ ควรมีคู่นอนเพียงคนเดียว เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการติดต่อ โรคหนองใน และ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

      อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม

      ความคิดเห็น

      โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

      เราควรตรวจเอชไอวีบ่อยแค่ไหน?

                                  เอชไอวีเป็นโรคที่แพร่หลัก ๆ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ฉะนั้นถ้าจะประเมินว่า ควรตรวจบ่อยแค่ไหน ให้ ประเมินจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของแต่ละคน จะดีที่สุด เพราะเอชไอวีไม่ใช่โรคที่อยู่ ๆ จะติดมาเลยเพียงแค่สัมผัสร่างกายคนอื่น แต่ช่องทางการติดจะมาจาก เพศสัมพันธ์ที่ ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการใช้เข็มฉีดยาซ้ำเป็นหลัก ช่องทางอื่นจะมาจากการที่สารคัดหลั่งใด ๆ เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลสดขนาดใหญ่ หรือการรับเลือดของผู้มีเชื้อ แต่สองช่องทางนี้จะมีโอกาสได้น้อยมาก ทำให้เพศสัมพันธ์ยังเป็นช่องทางหลักของการแพร่เชื้อเอชไอวี ฉะนั้นหากใครที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อยมากนัก หรือมีกับคน ๆ เดียวที่คุ้นเคยกันดี ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเอชไอวีมากนัก อาจจะตรวจแค่ครึ่งปีครั้ง หรือปีละครั้งเลยก็ได้ เพราะถือว่าไม่ได้มีความเสี่ยงรับเชื้อ แต่สำหรับ คนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยกับคนที่ไม่รู้สถานะผลเลือด ควรเข้าตรวจเอชไอวีเพื่อรับยา PrEP ไปทานเพื่อป้องกันเอชไอวีจะดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ต้องตรวจเอชไอวีบ่อยด้วย ที่ต้องตรวจจะมีแค่ช่วงก่อนรับยาไปทานและหลังทานยาครบในครั้งที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น หลังจากครั้งที่ 3 เ

      เอดส์ และ HIV รักษาได้ไหม

        HIV (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอีกมากมายตามมาไม่ว่าจะเป็นโรควัณโรคปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคทางสมอง ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HIV ร่างกายมักจะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ภายใน 1-2 เดือน โดยจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ มีไข้ หนาวสั่น อาการไอเรื้อรัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังเป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ หรือมีรอยฟกช้ำเป็นจุด ต่อมน้ำเหลืองบวม น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง เหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน อาการ HIV และโรคเอดส์รักษาได้ไหม? ในปัจจุบัน ยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาใด ที่ช่วยทำให้หายขาดจากการติดเชื้อ HIV หรือการป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ 100% ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันของทั้งผู้ป่วย HIV และโรคเอดส์ มีเป้าหมายเดียวกัน คือการฟื้นฟูภูมิคุ้มกันร่างกายที่บกพร่องของผู้ป่วย ให้กลับมาแข็งแรงเป็นปกติได้มากที่สุด โดย การใ