ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

HIV ตรวจเร็ว รักษาเร็ว

เนื่องจากการตรวจเลือด เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณรู้ได้ว่า มีหรือไม่มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย ประเด็นหลักคือ ผู้ที่มีความเสี่ยง ควรได้รับการวินิจฉัย ทั้งพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ จากแพทย์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยได้แนะนำให้ทุกคนที่อายุระหว่าง 13-64 ปีตรวจสุขภาพ เพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และควรให้ความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพประจำปี

กลุ่มความเสี่ยงสูงที่ควรไปตรวจ HIV

  • มีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  • มีจำนวนคู่นอนหลายคน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือใช้บริการผู้ให้บริการทางเพศเป็นประจำ
  • มีการใช้เข็มฉีดยาสำหรับเสพสารเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้น หรือแบ่งเข็มฉีดยาให้กับผู้อื่น
  • มีประวัติว่าเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปีที่ผ่านมา

การตรวจพบและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นี้สามารถช่วยในการรักษาได้ หากผลการตรวจพบว่าติดเชื้อ HIV การเริ่มต้นรักษาไวจะช่วยให้คุณรักษาสุขภาพได้อย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสให้กับผู้อื่นได้

เมื่อไหร่ที่ควรไปตรวจ HIV

หากคุณมีความเสี่ยงสูงต่อเชื้อเอชไอวีตอนนี้ ให้ไปที่ห้องฉุกเฉิน หรือติดต่อแพทย์เฉพาะทางทันที ตัวอย่างเช่น 

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี 
  • ถุงยางอนามัยแตกรั่ว หรือหลุดออกระหว่างมีเซ็กส์
  • หรือถูกข่มขืน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 

การใช้ยาเป๊ป (PEP) จะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี และคุณจำเป็นต้องกินยานี้ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง หากคุณไปพบแพทย์ไม่ทันเวลา สามารถสอบถามแพทย์ของคุณเกี่ยวกับการตรวจเอชไอวีได้ ส่วนใหญ่การตรวจเอชไอวี คุณจะต้องรอ 2 สัปดาห์หรือมากกว่า หลังการสัมผัสเชื้อ เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ ในระยะเวลาที่รอตรวจ HIV นี้คุณมีโอกาสที่จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสให้ผู้อื่นได้ทันที ดังนั้น คุณควรสวมถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์ เกือบทุกคนที่ติดเชื้อ HIV จะมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ (Antibodies) ที่ตรวจพบได้ในช่วง 3 เดือน ดังนั้น หากคุณตรวจ HIV แล้วเป็นผลลบ แพทย์ของคุณอาจจะต้องการให้คุณทำการตรวจซ้ำหลังจาก 3 เดือน เพื่อความแน่นอนอีกครั้ง

ข้อควรรู้ก่อนไปตรวจ HIV

นี่คือข้อควรรู้ก่อนที่คุณจะได้รับการตรวจเชื้อเอชไอวี:

การตรวจเอชไอวีเป็นความลับ

ผลเลือดเอชไอวีของคุณ จะถูกเก็บเป็นความลับ และจะแชร์กับผู้ที่คุณอนุญาตให้รับข้อมูล หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนที่อยากเปิดเผยผลตรวจนี้ให้กับคนอื่น แม้แต่กระทั่งคู่นอนของตนเองก็ตาม และเพื่อให้ผู้ตรวจ HIV ได้มีความมั่นใจว่า ผลตรวจเอชไอวีของพวกเขาเป็นส่วนตัว ไม่ถูกนำมาใช้ในทางอื่นใดที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ตรวจรู้สึกสบายใจมากขึ้นในการเดินทางไปปรึกษาแพทย์ หรือรับการรักษาได้เมื่อรู้ตัวว่ามีเชื้อ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสินหรือมีอคติกับพวกเขาได้

การตรวจเอชไอวีมีหลายรูปแบบ

ปัจจุบันมีการตรวจเอชไอวีในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ตามระยะเวลาที่ผู้ตรวจมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดที่เป็นการตรวจที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุด นอกจากนั้น ยังมีการตรวจแบบเร่งด่วนที่สามารถให้ผลการตรวจได้ภายใน 20 นาที โดยตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเอชไอวีด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ หรือสถานที่ทำการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกความเหมาะสมให้กับผู้ตรวจ หลังจากได้ทำการซักประวัติเรียบร้อยแล้ว

การตรวจเอชไอวีมีความแม่นยำสูง

คุณสามารถเชื่อถือผลตรวจเอชไอวีทุกรูปแบบได้ แต่อยากให้เข้าใจว่าไม่มีการตรวจแบบไหนที่แม่นยำ 100% หากผลการตรวจเอชไอวีของคุณเป็นบวก หรือมีปฏิกิริยา จะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เพื่อยืนยันการวินิจฉัยจากแพทย์ ตรวจระดับของการติดเชื้อ แพทย์จะให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับไวรัส HIV อธิบายตัวเลือกการรักษากับผู้ติดเชื้อ การรักษาเชื้อเอชไอวีปกติจะรวมถึงการใช้ยาต้านไวรัส (ART) ซึ่งเป็นการรักษาที่ช่วยควบคุมไวรัส และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ดี นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ติดเชื้อแจ้งคู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์ หรือคนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันให้เข้ามารับการตรวจเลือดด้วย เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การรักษา การดูสุขภาพจิต และการสนับสนุนอื่นๆ

การตรวจเอชไอวีต้องรอระยะฟักตัว

ถึงแม้จะมีวิธีการตรวจเอชไอวีที่รวดเร็วภายใน 5-7 วันก็ตาม แต่แพทย์จะมีการแนะนำให้กลับไปตรวจซ้ำอีกครั้ง เพราะร่างกายของคนเรานั้น ใช้เวลาในการพัฒนาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส HIV หลังจากติดเชื้อได้ เพื่อให้สามารถตรวจพบ ส่วนใหญ่จะสามารถตรวจพบได้ภายใน 2-8 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ แต่บางคนอาจใช้เวลานานถึง 3 เดือน หรือมากกว่านั้น ก่อนที่ภูมิคุ้มกันจะเพียงพอที่จะสามารถตรวจพบได้

ระยะฟักตัวในการตรวจ HIV (Window Period)

ระยะฟักตัว คือ ช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อ HIV และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารต้านทานมากพอที่จะตรวจพบได้โดยใช้การตรวจเอชไอวีระหว่างช่วงนี้ คนที่อาจมีเชื้อไวรัส HIV จะมีผลการตรวจเป็นลบ เนื่องจากยังไม่มีสารต้านทานพอที่จะตรวจพบได้ ระยะฟักตัวนั้น อาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจ HIV โดยบางวิธีสามารถตรวจพบสารต้านทานได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ในขณะที่การตรวจวิธีอื่นๆ อาจใช้เวลาถึง 3 เดือนหรือนานกว่านั้น

ไปตรวจ HIV ได้ที่ไหน?

สถานที่ที่คุณสามารถทำการตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในพื้นที่ใดหรืออยู่จังหวัดใด โดยสถานที่ที่มีการให้บริการการตรวจเชื้อเอชไอวีได้แก่:

  • คลินิกสุขภาพและศูนย์สุขภาพชุมชนทั่วประเทศ
  • สำนักงานสาธารณสุขในเขตอำเภอจังหวัด
  • คลินิกสุขภาพทางเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คลินิกวางแผนครอบครัว
  • ศูนย์สุขภาพสำหรับชุมชน LGBTQ +
  • ศูนย์การแพทย์ หรือศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัย
  • คลินิกเอกชน หรือ Lab ทั่วไป

การตรวจ HIV ที่โรงพยาบาลรัฐหรือศูนย์สาธารณสุขประจำจังหวัด สามารถตรวจได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง หรือในบางองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก็ยังมีบริการตรวจเอชไอวีฟรี หรือมีบริการในราคาประหยัด หากตรวจพบว่าติดเชื้อ HIV องค์กรเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณได้รับการรักษา ในกรณีที่ตรวจเชื้อลบ องค์กรเหล่านี้สามารถแนะนำวิธีป้องกันการติดเชื้อ HIV ให้กับคุณได้

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม

จะเป็นอย่างไร? ถ้าคุณติดเอชไอวี
ยุงกัดติดเอชไอวี 2023 แล้ว! ทำไมคนยังเชื่อ?

การที่ผู้มีความเสี่ยงต่อ HIV เข้ารับบริการตรวจคัดกรองเชื้อที่รวดเร็ว และสะดวกสบาย จะช่วยเอื้อประโยชน์ในด้านการรักษาโรคไม่ให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ภาวะเอดส์ได้สูงสุด ยิ่งตรวจเร็วเท่าไหร่ คุณก็มีโอกาสที่เร็วในการรักษา และดูแลตัวเองให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยจากโรคแทรกซ้อน ระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อ HIV ในระยะเริ่มต้นและการรักษาอย่างทันเวลา สามารถช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อเอชไอวีสู่โรคเอดส์ และช่วยให้ระหว่างขั้นตอนของการรักษาโรคมีประสิทธิภาพสูงสุด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เราควรตรวจเอชไอวีบ่อยแค่ไหน?

                            เอชไอวีเป็นโรคที่แพร่หลัก ๆ ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ฉะนั้นถ้าจะประเมินว่า ควรตรวจบ่อยแค่ไหน ให้ ประเมินจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของแต่ละคน จะดีที่สุด เพราะเอชไอวีไม่ใช่โรคที่อยู่ ๆ จะติดมาเลยเพียงแค่สัมผัสร่างกายคนอื่น แต่ช่องทางการติดจะมาจาก เพศสัมพันธ์ที่ ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และการใช้เข็มฉีดยาซ้ำเป็นหลัก ช่องทางอื่นจะมาจากการที่สารคัดหลั่งใด ๆ เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลสดขนาดใหญ่ หรือการรับเลือดของผู้มีเชื้อ แต่สองช่องทางนี้จะมีโอกาสได้น้อยมาก ทำให้เพศสัมพันธ์ยังเป็นช่องทางหลักของการแพร่เชื้อเอชไอวี ฉะนั้นหากใครที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อยมากนัก หรือมีกับคน ๆ เดียวที่คุ้นเคยกันดี ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเอชไอวีมากนัก อาจจะตรวจแค่ครึ่งปีครั้ง หรือปีละครั้งเลยก็ได้ เพราะถือว่าไม่ได้มีความเสี่ยงรับเชื้อ แต่สำหรับ คนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยกับคนที่ไม่รู้สถานะผลเลือด ควรเข้าตรวจเอชไอวีเพื่อรับยา PrEP ไปทานเพื่อป้องกันเอชไอวีจะดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ต้องตรวจเอชไอวีบ่อยด้วย ที่ต้องตรวจจะมีแค่ช่วงก่อนรับยาไปทานและหลังทานยาครบในครั้งที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น หลังจากครั้งที่ 3 เ

เอดส์ และ HIV รักษาได้ไหม

  HIV (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอีกมากมายตามมาไม่ว่าจะเป็นโรควัณโรคปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคทางสมอง ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HIV ร่างกายมักจะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ภายใน 1-2 เดือน โดยจะมีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ มีไข้ หนาวสั่น อาการไอเรื้อรัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังเป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ หรือมีรอยฟกช้ำเป็นจุด ต่อมน้ำเหลืองบวม น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง เหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน อาการ HIV และโรคเอดส์รักษาได้ไหม? ในปัจจุบัน ยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาใด ที่ช่วยทำให้หายขาดจากการติดเชื้อ HIV หรือการป่วยเป็นโรคเอดส์ได้ 100% ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันของทั้งผู้ป่วย HIV และโรคเอดส์ มีเป้าหมายเดียวกัน คือการฟื้นฟูภูมิคุ้มกันร่างกายที่บกพร่องของผู้ป่วย ให้กลับมาแข็งแรงเป็นปกติได้มากที่สุด โดย การใ